ไขข้อสงสัย สารให้ความหวานแทนน้ำตาลคืออะไร ? ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ ?

ไขข้อสงสัย สารให้ความหวานแทนน้ำตาลคืออะไร ? ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ ?

สารให้ความหวาน กลายเป็นอีกหนึ่งเทรนที่คนรักสุขภาพต้องรู้จัก ปัจจุบันการออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาจไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงไปเลย เพราะว่ายังมีอันตรายที่แฝงมากับอาหารอยู่ อาจทำให้หลายๆคนล้มเหลวกับการลดน้ำหนักไปเลย อาหารที่ถูกปรุงรสชาติไม่ว่าจะส่วนผสมใดก็ตาม สามารถส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และทำให้อ้วนได้เช่นกัน

โดยเฉพาะ ‘น้ำตาลทราย’ เครื่องปรุงรสหวานที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ตัวการสำคัญของความล้มเหลวในการลดน้ำหนักเลยค่ะ แต่ปัจจุบันได้มี ‘สารให้ความหวานแทนน้ำตาล’ เครื่องปรุงที่ดีต่อสุขภาพ สามารถใช้ได้กับอาหารคลีน อาหารคีโต และอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สารทดแทนน้ำตาลเหล่านี้จะได้ผลลัพธ์ดีจริงๆหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลคืออะไร ? น้ำตาล 0% จริงหรือไม่ ?

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือ Sweetener คือวัตถุเจือปนอาหาร เป็นสารให้ความหวานในเครื่องดื่มและอาหารแทนน้ำตาล ซึ่งมีทั้งแบบให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลและพลังงานอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

สารทดแทนความหวานจะให้ความหวานกว่าน้ำตาลหลายเท่า และช่วยลดพลังงานที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย จึงใช้ในปริมาณที่เล็กน้อย เพียงเพื่อชูรสชาติของอาหาร ทำให้ไม่รู้สึกขาดหวานจนเกินไป

น้ำตาลเทียมแต่ละชนิดให้พลังงานที่แตกต่างกัน แต่มีพลังงานน้อยกว่าน้ำตาลทรายค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแคลอรี่จะเป็น 0 และไม่ได้หมายความว่าจะให้รสชาติเหมือนน้ำตาล เพราะบางชนิดจะมีรสชาติขมเฝื่อน หรือหวานแบบแปลกๆ ซึ่งอาจไปเปลี่ยนแปลงรสชาติของอาหารได้ ควรศึกษาข้อมูลและวิธีการใช้ที่เหมาะสมก่อน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีแบบไหนบ้าง

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

เมื่อไม่กินน้ำตาลแล้ว สารแทนความหวานมีอะไรบ้าง ที่เราสามารถกินได้โดยไม่รู้สึกผิด

1. สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโตส (น้ำตาลจากผลไม้) มอนทิทอล ซอร์บิทอลและไซลิทอล ซึ่ง 3 กลุ่มนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นสารให้ความหวานกระตุ้นอินซูลิน

2. สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ สารให้ความหวานประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นสารให้ความหวานที่จะไม่กระตุ้นสารอินซูลินในร่างกาย มีทั้งหมด 4 ชนิด

 • ซูคราโรส สารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า ปลอดภัย ไม่มีสารสะสมในร่างกาย

ข้อดี ใช้ปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงได้ ไม่มีรสขมติดลิ้น

ข้อเสีย ทำให้กระเพาะไวต่อสิ่งกระตุ้น อาจเกิดอาการปวดหัวได้ในบางคน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

 • สตีเวีย หรือหญ้าหวาน เป็นสารที่ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200 เท่า แต่ในขณะเดียวกันกลับให้พลังงานที่น้อยมาก

ข้อดี สามารถทนกรดและทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส โดยที่ไม่สลายตัว สามารถใส่ในเครื่องดื่มและอาหารที่ต้องผ่านความร้อนได้ ไม่มีผลแทรกซ้อน

 • แอสพาร์แตม ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 180-200 เท่า 

ข้อดี รสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทราย ไม่ทำให้เกิดฟันผุและไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือด

ข้อเสีย หากกินในระหว่างที่ตั้งครรภ์อาจทำให้มีอาการมึนงง ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ห้ามใช้กับผู้ป่วยสภาวะฟินิลคีโตนูเรีย

 • แซคคารีน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 200-700 เท่า แต่ให้พลังงานต่ำ

ข้อเสีย เมื่อใช้ในปริมาณมากอาจมีรสขม หากกินต่อเนื่องเป็นเวลานานในปริมาณสูงอาจส่งผลถึงความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

อีกหนึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่กำลังนิยมกันมากๆเลยก็คือ น้ำตาลหล่อฮั่งก๊วย เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ไม่ให้พลังงาน มีความหวานกว่าน้ำตาลทั่วไปประมาณ 100-250 เท่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และยังมีรายงานการทดลองระบุไว้ว่าหล่อฮั่งก๊วย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งได้ เป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัยและมีประโยชน์มากๆค่ะ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ข้อดีของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

 • ข้อดีของสารให้ความหวานคือ ไม่เพิ่มความอยากอาหาร มีพลังงานน้อย แคลอรี่ต่ำ

 • ช่วยลดน้ำหนักได้เล็กน้อย และยังช่วยลดมวลไขมันและเส้นวงรอบเอวได้ เนื่องจากมีแคลอรี่และพลังงานน้อยมาก

 • หลังมื้ออาหารส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน

 • ลดอัตราการสูญเสียแร่ธาตุของฟัน ช่วยลดอาการฟันผุ เพราะไม่ถูกหมักในช่องปากโดยเชื้อแบคทีเรีย

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ข้อเสียของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

 • เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย โทษของสารให้ความหวาน คือ อาจเกิดอาการมวนท้อง ท้องอืดและท้องเสีย เพราะในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์เป็นน้ำตาลชนิดที่ไม่สามารถย่อยได้หมด

 • การกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำ จะทำให้รู้สึกติดรสหวาน และไม่สามารถควบคุมการกินได้อย่างเต็มที่

 • ควรใช้สารเหล่านี้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคลมชัก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี

 • การกินสารให้ความหวานแบบสังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองและความจำเสื่อม

 • น้ำตาลเทียมบางชนิดนั้น หากรับประทานมากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียน บางชนิดยังกระตุ้นการเกิดกรดในกระเพาะ ซึ่งทำให้เป็นโรคกระเพาะได้เช่นเดียวกัน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน

ปัจจุบันคนไทยกินน้ำตาลโดยเฉลี่ยสูงถึง 20 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งมาจากอาหารปรุงสำเร็จ น้ำอัดลม ขนม ซึ่งเป็นพฤติกรรมการกินที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน และมีปัญหาทางด้านสุขภาพตามมา ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีเราควรกินน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ คือ

 • เด็กและผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน (16 กรัม)

 • วัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิง แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (24 กรัม)

แต่ถ้าหากสามารถลดปริมาณน้ำตาลลงได้อีกก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ใครที่กำลังเริ่มลดหวาน ลดน้ำตาล ในช่วงแรกแนะนำให้เริ่มลดทีละน้อยๆก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดและอาการน้ำตาลตก

จะเห็นได้ว่าจุดประสงค์ของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล คือทางเลือกการดูแลสุขภาพ ช่วยควบคุมพฤติกรรมการกินอาหาร ควบคุมน้ำตาล แต่ไม่ได้ช่วยรักษาโรค หากใครต้องการลดความหวานแบบจริงจัง ควรลดการกินของหวานและอาหารที่ปรุงด้วยน้ำตาลจะเห็นผลในระยะยาวมากที่สุดค่ะ

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ EatAllAround

About Author

king admin

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *